ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Mulberry tree, White mulberry - Mulberry Tree, White Mulberry [8]
- Mulberry tree, White mulberry - Mulberry Tree, White Mulberry [8]
Morus alba L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Moraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L.
 
  ชื่อไทย หม่อน
 
  ชื่อท้องถิ่น กะตี้น(ปะหล่อง), หม่อน(คนเมือง), ลำที(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ลำต้นคดงอ แตกกิ่งก้านไม่มากนัก หูใบรูปแถบแคบ ปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 ซม.
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-6.5 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายเรียวแหลวยาว โคนกลม ค่อนข้างรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่างก้านใบเรียวเล็ก ยาว 1.0-1.5 ซม.
ดอก สีขาว ออกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 ซม. ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศผู้มักมี 3 อัน อับเรณูค่อนข้างกลม มีรยางค์เป็นต่อม ปลายมน เกสรเพศเมียปลอมสั้น ดอกเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย มี 2 อัน
ผล สด ติดเป็นกลุ่ม สีขาว เปลี่ยนเป็นสีแดง และม่วงดำ [8]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-6.5 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายเรียวแหลวยาว โคนกลม ค่อนข้างรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่างก้านใบเรียวเล็ก ยาว 1.0-1.5 ซม.
 
  ดอก ดอก สีขาว ออกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 ซม. ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศผู้มักมี 3 อัน อับเรณูค่อนข้างกลม มีรยางค์เป็นต่อม ปลายมน เกสรเพศเมียปลอมสั้น ดอกเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย มี 2 อัน
 
  ผล ผล สด ติดเป็นกลุ่ม สีขาว เปลี่ยนเป็นสีแดง และม่วงดำ [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(ปะหล่อง,คนเมือง)
หยวก ปลี และผล รับประทานได้(ลั้วะ)
- ใบใช้เลี้ยงตัวไหม
ผลกินได้
เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล ในจีนใช้เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะ แก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ โรคปวดข้อ
เปลือกต้น เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ์ [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ “หม่อน” พืชสารพัดประโยชน์,
 
ภาพนิ่ง